วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2558

พระราชประวัติรัชกาลที่9

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

พระบาทสมเด็จพระปรมินทร
มหาภูมิพลอดุลยเดช
Bhumibol Adulyadej 2010-9-29 2 cropped.jpg

พระบรมนามาภิไธยพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช
พระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร[1]
พระราชอิสริยยศพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรไทย
ราชวงศ์ราชวงศ์จักรี
ครองราชย์9 มิถุนายน 2489
บรมราชาภิเษก5 พฤษภาคม 2493
รัชกาล69 ปี 55 วัน
รัชกาลก่อนพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร
วัดประจำรัชกาลวัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก
พระพุทธรูปประจำพระชนมวารพระพุทธรูปปางอภัยมุทรา พุทธลักษณะสุโขทัย
ข้อมูลส่วนพระองค์
พระราชสมภพ5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 (87 ปี)
เคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์สหรัฐอเมริกา
พระบรมราชชนกสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
พระบรมราชชนนีสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
พระบรมราชินีสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
พระราชบุตรทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี
ลายพระอภิไธย
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (พระราชสมภพ 5 ธันวาคม 2470) เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่เก้าแห่งราชวงศ์จักรีเสด็จสู่พระราชสมบัติตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2489 ขณะนี้ จึงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้เสวยราชย์นานที่สุดในโลกที่มีพระชนมชีพอยู่ และยาวนานที่สุดในประเทศไทย[2]
พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญและได้ทรงหยุดยั้งการกบฏ เช่น ในคราวปี 2524 และปี 2528 กระนั้น ก็ได้ทรงแต่งตั้งหัวหน้าคณะยึดอำนาจหลายคณะ เช่น จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในช่วงพุทธทศวรรษที่ 2500 กับพลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ในช่วงปลายพุทธทศวรรษที่ 2540 ตลอดรัชกาลของพระองค์ เกิดรัฐประหารโดยกองทัพสิบกว่าครั้ง รัฐธรรมนูญเกือบ 20 ฉบับ และนายกรัฐมนตรีเกือบ 30 คน
ประชาชนชาวไทยจำนวนมากเคารพพระองค์[3][4][5] อนึ่ง ตามรัฐธรรมนูญ พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะและผู้ใดจะละเมิดมิได้ ส่วนประมวลกฎหมายอาญาว่า การดูหมิ่น หมิ่นประมาท หรืออาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์เป็นความผิดอาญา[5] คณะรัฐมนตรีหลายชุดที่ได้รับการเลือกตั้งมาก็ถูกคณะทหารล้มล้างไปด้วยข้อกล่าวหาว่านักการเมืองผู้ใหญ่หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ[6][7] กระนั้น พระองค์เองได้ตรัสเมื่อปี 2548 ว่า สาธารณชนพึงวิพากษ์วิจารณ์พระองค์ได้[8]
พระองค์ทรงเป็นที่สรรเสริญในประเทศไทยเกี่ยวกับพระราชดำริในเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โคฟี แอนนัน เลขาธิการสหประชาชาติ ได้ถวายรางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์แด่พระองค์[9] กับทั้งพระองค์ยังทรงเป็นเจ้าของสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ งานพระราชนิพนธ์ และงานดนตรีจำนวนหนึ่งด้วย[10] ด้านสินทรัพย์ของพระองค์นิตยสารฟอบส์จัดอันดับให้พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ผู้มีพระราชทรัพย์มากที่สุดในโลกตั้งแต่ปี 2551 ถึง 2556[11] เมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 พระองค์มีพระราชทรัพย์ 30,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ (ดูหมายเหตุด้านล่าง)[12] สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์นั้นใช้สินทรัพย์เพื่อสวัสดิการสาธารณะ เช่น เพื่อพัฒนาเยาวชน แต่ได้รับการยกเว้นมิต้องจ่ายภาษีและให้เปิดเผยการเงินต่อพระมหากษัตริย์แต่พระองค์เดียว[13] ขณะที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชก็ได้ทรงอุทิศพระราชทรัพย์ไปในโครงการพัฒนาประเทศไทยหลายต่อหลายโครงการ โดยเฉพาะในทางเกษตรกรรม สิ่งแวดล้อม สาธารณสุข การส่งเสริมอาชีพ ทรัพยากรน้ำ สวัสดิการทางคมนาคม และสวัสดิการสาธารณะ[14]

พระราชประวัติรัชกาลที่8

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร
King Ananda Mahidol portrait photograph.jpg

พระบรมนามาภิไธยหม่อมเจ้าอานันทมหิดล มหิดล
พระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร
ราชวงศ์ราชวงศ์จักรี
ครองราชย์2 มีนาคม พ.ศ. 2477
รัชกาล12 ปี 99 วัน
รัชกาลก่อนพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลถัดไปพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
วัดประจำรัชกาลวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร (โดยอนุโลม) [1]
ข้อมูลส่วนพระองค์
พระราชสมภพ20 กันยายน พ.ศ. 2468
ไฮเดลแบร์ก สาธารณรัฐไวมาร์
สวรรคต9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 (20 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
พระราชบิดาสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
พระราชมารดาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร (20 กันยายนพ.ศ. 2468 - 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489) เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 11 ปีฉลู ณ เมืองไฮเดลแบร์ก ประเทศเยอรมนีตรงกับวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2468 เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ (ภายหลังดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก) และหม่อมศรีสังวาลย์ (ภายหลังดำรงพระยศเป็น "สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี") มีพระเชษฐภคินีและพระอนุชาร่วมพระชนกชนนีอีก 2 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช (ภายหลังทรงขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช)
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เสด็จขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 8 แห่งราชวงศ์จักรี เมื่อวันที่ 2 มีนาคมพ.ศ. 2477 ขณะที่มีพระชนมายุเพียง 8 พรรษาและประทับอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ดังนั้น จึงมีการแต่งตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เพื่อทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินจนกว่าพระองค์จะทรงบรรลุนิติภาวะ
พระองค์เสด็จนิวัติพระนครครั้งแรกภายหลังทรงราชย์เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481และครั้งที่สองเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2488ระหว่างกำหนดการเสด็จพระราชดำเนินกลับไปทรงศึกษาต่อที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์เพียง 4 วัน พระองค์เสด็จสวรรคตด้วยทรงต้องพระแสงปืนเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ณ ห้องพระบรรทม พระที่นั่งบรมพิมาน ภายในพระบรมมหาราชวัง รวมระยะเวลาที่ทรงครองสิริราชสมบัติทั้งสิ้น 12 ปี

พระราชประวัติรัชกาลที่7

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
King Prajadhipok portrait photograph.jpg

พระบรมนามาภิไธยประชาธิปกศักดิเดชน์
พระปรมาภิไธยเจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา
ราชวงศ์ราชวงศ์จักรี
ครองราชย์26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468
รัชกาล9 ปี
รัชกาลก่อนพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลถัดไปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
วัดประจำรัชกาลวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม(โดยอนุโลม) [1]
ข้อมูลส่วนพระองค์
พระราชสมภพ8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436
กรุงเทพมหานคร ประเทศสยาม
สวรรคต30 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 (47 ปี)
มณฑลเซอร์รีย์ สหราชอาณาจักร
พระราชบิดาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชมารดาสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง
พระบรมราชินีสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรี ลำดับที่ 7 แห่งราชอาณาจักรสยาม พระองค์เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพุธ แรม 14 ค่ำ เดือน 11 ปีมะเส็ง เวลา 12.25 นาฬิกา หรือตรงกับวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 พระองค์เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 76 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นปีที่ 9 ใน สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวงสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นเสวยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 และทรงสละราชสมบัติเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 (นับศักราชแบบเก่า) รวมดำรงสิริราชสมบัติ 9 ปี เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 รวมพระชนมพรรษา 47 พรรษา
พระองค์ปฏิบัติพระราชกรณียกิจที่สำคัญหลายด้าน เช่น ด้านการปกครอง โปรดให้ตั้งสภากรรมการองคมนตรี ทรงตรากฎหมายเพื่อควบคุมการค้าขายที่เป็นสาธารณูปโภคและการเงิน ระบบเทศบาล ด้านการศาสนา การศึกษา ประเพณีและวัฒนธรรมนั้น พระองค์โปรดให้สร้างหอพระสมุด ทรงปฏิรูปการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ มีการปรับปรุงการศึกษาจนยกระดับมาตรฐานถึงปริญญาตรี ทรงตั้งราชบัณฑิตยสภา โปรดให้จัดพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับพิมพ์อักษรไทยสมบูรณ์ ชื่อว่า “พระไตรปิฎกสยามรัฐ” เป็นต้น
สำหรับชีวิตส่วนพระองค์นั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงอภิเษกสมรสกับสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี(หม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี สวัสดิวัตน์) ไม่มีพระราชโอรสและพระราชธิดา แต่มีพระราชโอรสบุญธรรม คือ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาต